ปกรณัม

ถ้อยคำสำนวนจากปกรณัมคลาสสิก

ถ้อยคำสำนวนจาก ปกรณัมคลาสสิก รวบรวมคำศัพท์และสำนวนในภาษาอังกฤษจากตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษของชาวกรีกและชาวโรมันโบราณที่ยังพบการใช้งานแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน นำมาอธิบายด้วยการเล่าย้อนไปยังตำนานต้นกำเนิด พร้อมยกตัวอย่างการใช้จริงในภาษาอังกฤษผู้อ่านจะได้เพลิดเพลินไปกับเรื่องราวหลากรสจากเทพปกรณัมคลาสสิกพร้อมกับได้ทราบประวัติและซึมซับวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่เปี่ยมพลวัต สามารถจะเปลี่ยนพระเอก เช่น เจ้าชายเฮคเทอร์ ให้กลายเป็นผู้ร้ายขี้เกเรไปได้หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่รักการอ่านบันเทิงคดีแต่ก็หวังจะได้กอบโกยสาระดี ๆ ไปด้วย

ถ้อยคำสำนวนจากปกรณัมคลาสสิก ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเทพปกรณัมคลาสสิกโดยละเอียดเป็นครั้ง แรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเรียนจบรายวิชา ก็รู้สึกได้ว่าตนเองมีทักษะในการร้อยเรียง เรื่องเล่าเป็นภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นมาก ครั้นเมื่อมีประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษ มากขึ้นในอีกหลาย ๆ ปีหลังจากนั้นจึงได้ตระหนักว่าความรู้เกี่ยวกับตํานานคลาสสิก ไม่ใช่เป็นเพียงใบเบิกทางทางวัฒนธรรมตะวันตกเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐาน การทําความเข้าใจภาษาตะวันตก และเป็นการแสดงผลเชิงประจักษ์ของการศึกษา วรรณคดีที่เอื้ออํานวยต่อการเรียนรู้และซึมซับทั้งวัฒนธรรมและภาษาไปพร้อม ๆ กัน

ปกรณัมคลาสสิก

ในการทํางานเป็นอาจารย์ประจําภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบรายวิชา เทวตํานานกรีก และโรมันวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของรายวิชาปกรณัมกรีกและโรมันที่ผู้เขียน รับผิดชอบ ก็คือการทําให้ผู้เรียนสามารถทําความเข้าใจกับถ้อยคําสํานวนในภาษา อังกฤษที่มีที่มาจากปกรณัมคลาสสิกที่ได้ร่ำเรียนไปในรายวิชานี้ และสามารถเอาไป ใช้ทั้งในการรับรู้และการผลิตภาษาได้อย่างถูกต้อง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนรวบรวม ถ้อยคําสํานวนจากปกรณัมกรีกและโรมันและมอบหมายให้ผู้เรียนจับฉลากเพื่อนํา เสนอที่มาที่ไปของการใช้ภาษานั้นและยกตัวอย่างการนําเอามาปรับใช้ในภาษาอังกฤษ ในปัจจุบัน ผลงานที่ออกมามีคุณภาพต่าง ๆ กันไป บางคนเตรียมตัวค้นคว้าและ นําเสนอมาเป็นอย่างดี สามารถให้ความกระจ่างและเพิ่มพูนความรู้ให้กับเพื่อน ๆ ในห้องได้ แต่ผู้เรียนจํานวนมากติดกับดักวัฒนธรรมตัดแปะและนําเสนองานที่คัด ๆ ลอก ๆ มาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อย่างขาดความเข้าใจและไม่สามารถให้ความกระจ่าง หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับผู้ฟังในห้องได้เลย ส่งผลให้เพื่อนร่วมชั้นขาด ความสนใจและเข้าร่วมการนําเสนออย่างแกน ๆ ไร้ความคาดหวังใด ๆ และแทบไม่ ได้ประโยชน์อะไรกลับไป ในระยะหลัง ผู้เขียนแก้ปัญหานี้ด้วยการนําเสนอถ้อยคํา สํานวนเหล่านี้ด้วยตนเองทั้งหมด โดยใช้การสอนแนวปุจฉา-วิสัชนา ตามวิถีปรัชญา กรีกโบราณ แม้จะพอมั่นใจได้ว่าได้ควบคุมคุณภาพของสิ่งที่นําเสนอได้พอสมควร แต่เวลาที่จํากัดก็ทําให้ไม่สามารถจะให้ความกระจ่างและยกตัวอย่างประกอบใน ทุก ๆ ประเด็นได้

ปกรณัมคลาสสิก"/

ผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ ถ้อยคําสํานวนจากปกรณัมคลาสสิก เล่มนี้จะช่วยเติมเต็มความรู้ทางภาษาให้กับผู้เรียนปกรณัมกรีกและโรมันแบบไม่มี ข้อจํากัดด้านเวลาในชั้นเรียน และเป็นสะพานเชื่อมเรื่องราวจากตํานานคลาสสิก กับความเข้าใจถ้อยคําและสํานวนบางส่วนในภาษาอังกฤษสําหรับผู้สนใจทั่วไป

หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายความหมายของคําศัพท์และสํานวน ภาษาอังกฤษที่มีที่มาจากปกรณัมกรีกและโรมัน และที่ยังมีการใช้งานแพร่หลายกัน อยู่ในปัจจุบัน เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อให้อ่านได้ทั้งนิสิตนักศึกษาในรายวิชาเกี่ยวกับ ปกรณัมกรีกและโรมันและบุคคลผู้สนใจโดยทั่วไป โดยจะอ่านเรียงหน้าหรือพลิกอ่าน เจาะจงเฉพาะถ้อยคําและสํานวนที่สนใจก็ย่อมได้ เพื่อให้ข้อมูลที่นําเสนอมีสาระ ที่เกี่ยวข้อง ตรงประเด็น แต่ไม่เป็นวิชาการจนแน่นน่าอึดอัด ผู้เขียนจึงตัดสินใจ ไม่ใส่ข้อมูลทางภาษาบางอย่าง เช่น ชนิดของคํา (Part of Speech) และคําอ่าน แบบสัทอักษร (Phonetic Symbols) โดยยกตัวอย่างการใช้งานในระดับประโยค สําหรับทุกถ้อยคําสํานวนที่ได้คัดเลือกรวบรวมมา และระบุชนิดของคําในคําอธิบาย เมื่อคําคํานั้นมีการผันเพื่อนําไปใช้งานได้หลากหลาย แทนการระบุชนิดของคํา ในทุก ๆ รายการ

ในการถอดเสียงชื่อเฉพาะในภาษากรีกและโรมัน ผู้เขียนยึดการสะกดคํา ตามการอ้างอิงจากหนังสือ ปกรณัมปรัมปรา ที่รองศาสตราจารย์นพมาส แววหงส์ ได้แปลไว้ด้วยภาษาที่ไพเราะยิ่งจากหนังสือเรื่อง Mythology ของเอดิธ แฮมิลตัน (แฮมิลตัน, 2562) และได้กลายมาเป็นหนังสืออ่านประกอบที่เป็นที่นิยมในรายวิชา เทพปกรณัมในบรรดาผู้เรียนชาวไทย ในกรณีของคําที่ไม่ปรากฏการถอดเสียง เป็นภาษาไทยในหนังสือเล่มดังกล่าว ผู้เขียนใช้การถอดเสียงโดยเทียบเคียงกับคํา ที่มีการถอดเสียงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วเพื่อเลี่ยงความสับสนที่อาจเกิดขึ้น และในกรณี นอกเหนือจากนั้นจึงใช้การถอดเสียงที่ใกล้เคียงการออกเสียงจริง

เพื่อให้การอธิบายเรื่องราวจากปกรณัมมีความเป็นเอกภาพและเป็นระบบ เดียวกันตลอดทั้งเล่ม ผู้เขียนเลือกที่จะใช้การกล่าวถึงชื่อเทพเจ้าและบุคคลในปกรณัม โดยใช้ชื่อภาษากรีก โดยจะระบุคําว่า ชื่อโรมัน หรือ นามโรมัน ประกอบ หากสํานวนนั้น ๆ ประกอบขึ้นมาจากชื่อโรมัน (หรือภาษาละติน) ของเทพเจ้าหรือวีรบุรุษในตํานาน และแม้ว่าชื่อโรมันนั้นอาจจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากกว่าก็ตาม เช่น การใช้ชื่อกรีก เฮราคลิส (Heracles) แทนชื่อ เฮอร์คิวลิส (Hercules) ซึ่งเป็นชื่อโรมันของวีรบุรุษผู้นี้

ท้ายที่สุด เพื่อความสะดวกในการค้นหาคําและสํานวน ผู้เขียนจึงเรียง ลําดับถ้อยคําและสํานวนที่คัดเลือกมาอธิบายตามลําดับอักษร จาก A ถึง Z โดยดูจาก คําสําคัญคําแรกในสํานวนนั้น ๆ สํานวนที่ขึ้นต้นด้วยคํากริยาจะมีคําว่า To (หรือ To be ในรูปกรรมวาจก) นําหน้า เพื่อความชัดเจนในการนําไปใช้งาน แต่จะถูก เรียงไว้ในหมวดของตัวอักษรแรกของคําถัดไป เช่น (To be) struck by Cupid’s arrow จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดอักษร S ในทํานองเดียวกัน คํานามที่ขึ้นต้นด้วย A หรือ The ก็จะถูกจัดไว้ในหมวดของตัวอักษรแรกของคําถัดไป เช่น (A) took that could turn you to stone ถูกจัดไว้ในหมวดอักษร L ส่วน (The) face that launched a thousand ships ถูกจัดไว้ในหมวดอักษร F ฯลฯ หากมีเรื่องเล่าจาก ปกรณัมเพิ่มเติมที่มีความเกี่ยวข้องกับถ้อยคําและสํานวนหนึ่ง ๆ แต่ไม่ใช่แหล่งที่มา ของถ้อยคําและสํานวนนั้น ๆ โดยตรง และได้มีการเล่าและอธิบายไว้ในส่วนอื่น ๆ ของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ระบุไว้ในวงเล็บ เช่น (ดู Olympian) เพื่อให้ผู้อ่านได้พลิก ไปอ่านรายการในวงเล็บเพิ่มเติมตามอัธยาศัย

Achilles’ heel

คำอ่าน /อะ-คิล-ลิส-ฮีล/
ความหมาย จุดอ่อน ข้อด้อย ข้อบกพร่องที่นำ ไปสู่หายนะ จุดจบหรือความพ่ายแพ้

เรื่องเล่าจากปกรณัม
อะคิลลิส เป็นวีรบุรุษนักรบชาวกรีกที่เกรียงไกรที่สุดในมหาสงคราม กรุงทรอย เขาเป็นโอรสของกษัตริย์เพลีอัสและพรายทะเลที่ชื่อว่าเธทิส เมื่อแรกเกิด เทพพยากรณ์ได้ให้คําทํานายไว้ว่า อะคิลลิสจะเติบโตขึ้นเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่และ เป็นนักรบที่เก่งฉกาจที่สุด แต่จะจบชีวิตลงในการสู้รบที่กรุงทรอย ด้วยความหวัง ที่จะปกป้องบุตรชาย มารดาของเขาจึงชุบตัวทารกน้อยในแม่น้ําสติกซ์ซึ่งมีสายน้ํา เป็นสีดําสนิท มีสรรพคุณในการทําให้ร่างกายทนต่อภยันตราย ทั่วสรรพางค์กาย ของอะคิลลิสนั้นจึงมีความคงกระพัน สามารถต้านทานศาสตราวุธทั้งปวง มีเพียง บริเวณส้นเท้าของเขาเท่านั้นที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ําวิเศษเพราะเป็นบริเวณที่เธทิสกุมเอา ไว้ในขณะที่ลุ่มตัวบุตรชายลงในแม่น้ํา และบริเวณส้นเท้าของอะคิลลิสนี้เองได้กลาย มาเป็นจุดเปราะบางที่อาวุธสามารถทําร้ายเขาได้ ในสงครามกรุงทรอย เมื่อเจ้า ชายปารีสแห่งกรุงทรอยแผลงศรมาปักที่จุดอ่อนของอะคิลลิสเข้าพอดี เขาก็ล้มลงสิ้นใจ ในสนามรบนั้นเอง (Daly, 2009, p. 2; Hamilton, 1999, pp. 201-202: Howatson, 2011, pp. 4-5; Roman & Roman, 2009, pp. 7-9)

ตัวอย่าง

Supachai was a hard-working employee, but he never talks to his colleagues! His lack of social skills was his Achilles’ heel. He was never promoted above the administrative level because he was not a team worker

ศุภชัยเป็นพนักงานที่ขยันขันแข็ง แต่เขาไม่เคยพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเลย ความไร้ซึ่งทักษะสังคมนี้เป็นจุดอ่อนของเขา เขาไม่เคยได้เลื่อนตําแหน่งไปสูงกว่า พนักงานธุรการ เพราะเขาทํางานเป็นทีมไม่ได้

อุษา พัดเกตุ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา พัดเกตุ

คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน