ว่าด้วยทฤษฎีรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

ว่าด้วยทฤษฎี รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ On Theories of Political Science and Public Administration เป็นหนังสือขายดีอีก 1 เล่มของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ว่าด้วยเรื่องทฤษฎี รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ร่วมสมัย จุดเล่มต้นของหนังสือเล่มนี้บรรณาธิการได้กล่าวไว้ว่า “… การผลิตหนังสือรวมบทความวิชาการเล่มนี้ขึ้นมาเป็นความพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างน้อยในสองนัยยะด้วยกัน ประการแรก หนังสือเล่มนี้เป็นการแสดงความเข้มแข็งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการของภาควิชาฯ ที่ผ่านการฝึกฝนประสบการณ์เรียน/วิจัยจากหลากหลายสำนักในหลาย ๆ ประเทศในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาการรัฐศาสตร์ไทยประการที่สอง นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้น (Point of departure) ที่สำคัญในการพยายามช่วงชิงพื้นที่การผลิตองค์ความรู้ และข้อถกเถียงทางวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จากพื้นที่เดิมรวมศูนย์แต่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น…” จากเรื่องราวของทฤษฎีรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีองค์ความรู้อย่างมากมายทำให้สำนักพิมพ์จึงขอแนะนำหนังสือดี ๆ ที่น่าสนใจสำหรับนักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ทางด้านรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ต้องมีไวศึกษารวมรวมจากบรรดาผู้เขียนที่ประสบการณ์ทางวิชาการอย่างเข้มข้น

รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

1.ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์การเมืองการปกครองไทยอย่างเป็นระบบ

รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์การเมืองการปกครองไทยอย่างเป็นระบบ การจัดแบ่งทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์การเมืองไทยให้ได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะมีแนวความคิดทฤษฎีจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ในการอธิบาย การเมืองไทยได้ แต่งานเขียนชิ้นนี้จะพิจารณาเฉพาะงานเขียนวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย ที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ชัดเจน และใช้ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่สามารถนำมาอธิบาย การเมืองไทยอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเท่านั้น งานเขียนชิ้นนี้จะไม่พิจารณา งานเขียนวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทยที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ชัดเจน และไม่พิจารณางานเขียนที่ใช้ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่นำมาเลือกอธิบายการเมืองการปกครองไทย เพียงช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเพราะไม่ถือว่าเป็นการวิเคราะห์การเมืองไทยอย่างเป็นระบบตั้งแต่ สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจากงานเขียนวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทยอย่างเป็นระบบที่ตรง ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้เขียนกำหนดไว้

2.สินค้า มูลค่า และสภาวะแปลกแยกในหนังสือ ว่าด้วยทุน ของคาร์ล มาร์กซ์

รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

มนุษย์ในสังคมโลกปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเผชิญหน้ากับ “ความสัมพันธ์ทางสังคม” แบบทุนนิยม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างน้อยที่สุดมนุษย์ย่อมต้องบริโภคสินค้าและ/ หรือบริการ ขั้นพื้นฐานที่สุดเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้ แม้มนุษย์จะไม่มี “เงิน” เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้า ผู้เขียนเลือกใช้คำว่า ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relations) แบบทุนนิยมแทนคำว่า “ระบบ” ทุนนิยมที่ใช้กันทั่วไป เนื่องจากภายใต้กรอบแนวคิดแบบมาร์กซิสต์นั้นปรากฎการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง นั้นมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันและมาร์กซ์นั้นให้ความสำคัญกับ “ความสัมพันธ์” (Relations) ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการพิจารณา แบบแยกส่วน นอกจากนี้การใช้คำว่า “ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบทุนนิยม” นั้นยังให้ภาพกว้างกว่าการมองทุนนิยม ที่เป็น “ระบบ” ในการผลิตเพียงเท่านั้นแต่เป็นระบบที่ข้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในทุกทางอีกด้วย

3.แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำ
ทางการเมืองไทยในยุคมาลานำไทย

วัตถุประสงค์ที่สำคัญของบทนี้ คือ การนำแนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมือง ของกีตาโน มอสกา (Gaetano Mosca) มาใช้เป็นกรอบในการอธิบายลักษณะชนชั้นนำทางการเมือง ของประเทศไทย โดยงานเขียนชิ้นนี้มุ่งเน้นการนำแนวความคิดดังกล่าวมาอธิบายชนชั้นนำในยุคมาลา นำไทยในสองประการ คือ 1) ลักษณะของชนชั้นนำ ซึ่งบทความนี้ได้อธิบายในสองประเด็น คือ ลักษณะและเอกภาพของชนชั้นนำ และการเลื่อนชนชั้นทางสังคมของชนชั้นนำ และ 2) เครื่องมือ ที่ชนชั้นนำทางการเมืองที่มอสกาเสนอว่าสามารถนำมาควบคุมผู้ถูกปกครองในยุคนั้นได้มีสามวิธีที่สําคัญ คือ การใช้วาทกรรมทางการเมือง การสร้างค่านิยมและความเชื่อที่ชนชั้นนําสร้างขึ้น และการสร้างความรู้สึกผูกพันของสมาชิกในสังคม

4.ทฤษฎีสัจนิยมนีโอคลาสสิคและการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ

เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ การทำความเข้าใจ พฤติกรรมของรัฐที่แสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาศัยทฤษฎีและกรอบแนวคิดที่เหมาะสม เป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา การวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy Analysis หรือ FPA) นับเป็นแขนงวิชาหนึ่งของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ศึกษา ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลหรือส่งผลต่อพฤติกรรมของรัฐ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิเคราะห์นโยบาย ต่างประเทศ คือ การค้นหาสาเหตุ (Cause) ที่ทำให้รัฐแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยการวิเคราะห์ว่าปัจจัยสำคัญใดบ้าง (Factors) ที่ส่งผลให้รัฐดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะ ต่าง ๆ เช่น แสวงหาความร่วมมือและเลือกแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีหรือใช้นโยบายที่แข็งกร้าวและเลือกใช้ความรุนแรงจัดการความขัดแย้ง การวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของรัฐยังช่วยให้เราเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของรัฐในการเลือกตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจทางเลือกและเครื่องมือที่รัฐเลือกใช้ ซึ่งรัฐมองว่าเหมาะสมและ จะเป็นประโยชน์มากที่สุด เช่น ในบางเหตุการณ์ ทำไมรัฐเลือกดำเนินนโยบายโจมตีฝ่ายตรงข้ามก่อน ขณะที่ในบางเหตุการณ์ รัฐยับยั้งการแสดงพฤติกรรมที่เป็นการยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง และในบางกรณีรัฐเลือกสงวนท่าทีหรือไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อความขัดแย้ง หรือในบางปัญหา รัฐแสดงบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมองค์การระหว่างประเทศในการแก้ไขความขัดแย้งระห ว่าง ประเทศ แต่ในบางปัญหา รัฐเลือกที่จะเพิกเฉยต่อมติหรือข้อเสนอขององค์กรระหว่างประเทศ ละเมิด ข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การทำความเข้าใจปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของรัฐยังช่วยในการคาดการณ์ว่า นโยบายต่างประเทศมีแนวโน้มหรือทิศทางเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร

5.สรรสร้างนิยม อัตลักษณ์ และนโยบายต่างประเทศ

รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

แนวคิดหลักในการอธิบายและการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน ช่วงก่อนการสิ้นสุดสงครามเย็น อาจถือได้ว่าประกอบด้วย 2 แนวคิด คือ แนวคิดสัจนิยม (realism) และแนวคิดเสรีนิยม (liberalism) โดยในมุมมองของสัจนิยมใหม่ (neorealism) หรือสัจนิยมเชิง โครงสร้าง (structural realism) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจ (power) และบรรดารัฐมุ่งแสวงหาอำนาจ เนื่องจากระบบระหว่างประเทศมีลักษณะอนาธิปไตย (anarchy) หรือไม่มีองค์กรกลาง (central authority) ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐ ดังนั้น แต่ละรัฐจึงต้องช่วยตนเอง โดยการสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง หรือไม่ก็ร่วมมือกับรัฐอื่น ในการถ่วงดุลอำนาจรัฐที่เข้มแข็งกว่า เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงและความอยู่รอด ในขณะที่แนวคิดเสรีนิยมมองว่ารัฐสามารถขจัดการคุกคามจากรัฐอื่น และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐได้ โดยการรวมมือกันจัดตั้ง สถาบันหรือองค์กรขึ้นมา เพื่อดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐต่าง ๆ นอกจากนั้น แนวคิดด้าน ศีลธรรม การเคารพในสิทธิและเสรีภาพ การยึดถือหลักการประชาธิปไตย และความจําเป็นที่แต่ละรัฐ ต้องพึ่งพากัน ก็ถือว่าช่วยลดความขัดแย้ง และเกื้อหนุนต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

6.โลกาภิบาล: ว่าด้วยสิ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ (ที่ยังไม่เกิด)

นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอันนำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามเย็นภายใต้ ระเบียบโลกแบบสองขั้วนั้น โลกในยุคหลังสงครามเย็นได้เปลี่ยนผ่านไปสู่โลกที่อยู่ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์อย่างชัดเจนและเต็มรูปแบบ กระแสที่เต็มไปด้วยกระบวนการที่หลากหลายที่ทำให้ผู้คน ในสังคมหนึ่ง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือใกล้ชิดกับผู้คนในสังคมที่อยู่ห่างออกไป ไม่ว่าจะเป็น ด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ ได้อย่างสะดวกและง่ายขึ้น ดังจะเห็น ได้จากการขยายเขตการค้าเสรี การบริโภคสินค้าและบริการจากบรรษัทข้ามชาติ การติดต่อสื่อสาร ที่สะดวกและราคาถูกลง หรือแม้แต่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที(Sobel, 2009, p. 1) อย่างไรก็ตามในขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์อาจสร้างโอกาสให้ผู้คนในโลกมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นผ่านการสร้างความมั่งคั่ง การได้รับสวัสดิการของรัฐ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ก็ตาม แต่ในอีกด้านหนึ่ง โลกในยุคหลังสงครามเย็นกลับต้องเผชิญกับปัญหา และสิ่งท้าทายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหา สิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอุบัติใหม่และการอุบัติซ้ำของ เชื้อโรคและโรคติดต่อ (เช่น วัณโรค เชื้อเอชไอวี/เอดส์ เชื้ออีโบล่า โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โรคไข้หวัดนก) การแพร่ระบาดของยาเสพติด ภัยคุกคามจากการก่อการร้าย วิกฤตทางการเงินและ เศรษฐกิจโลก ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ ปัญหาช่องว่างของการพัฒนา ฯลฯ ที่ก่อตัวขึ้นและ ส่งผลกระทบจากชุมชนหนึ่งสู่ชุมชนอื่น หรือจากรัฐหนึ่งสู่รัฐอื่น คำถามที่ตามมา ก็คือ เราจะมีวิธีการ หรือแนวทางเพื่อรับมือ จัดการ ตลอดจนแก้ปัญหาและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างไร ใครจะเป็น ผู้รับผิดชอบหรือมีอำนาจหลักในการบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่ซับซ้อนเหล่านี้

7.การศึกษาการจัดการปกครองในประเทศไทย: การทำให้เป็นกระแสหลัก
หรือการลดทอนความเป็นการเมือง?

ในรอบกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาแนวคิดเรื่องการจัดการปกครอง (governance) หรือที่มี การถอดความในภาษาไทยไว้หลากหลายลักษณะอาทิ ธรรมาภิบาล การจัดการปกครอง การอภิบาล การบริหารปกครอง34 ได้รับความนิยมอย่างมากในหลากหลายสาขาวิชา จากจุดเริ่มต้นที่แนวคิด ผู้เขียนขอขอบคุณข้อวิจารณ์ และคำแนะนำในการปรับปรุงบทความจากดร.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล และผู้ประเมิน บทความท่านอื่น อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่ผู้เดียว 34 ในหมู่ความพยายามในการถอดความคำว่า ‘governance’ ผู้เขียนเห็นว่าการถอดความที่สะท้อนความหมาย ในภาษาอังกฤษมากที่สุดคือ “การจัดการปกครอง” และ “การบริหารปกครอง” ซึ่งคำแรกเป็นการถอดความของ คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคำที่สองเป็นการถอดความของคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนจะยึดการถอดความในภาษาไทยว่า “การจัดการปกครอง” เนื่องจากการใช้คำดังกล่าวนี้เป็นความพยายามแรกๆของนักวิชาการไทยที่จะถอดความคำดังกล่าว

8.การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การไม่แสวงหากำไร : หลักการความต่าง
และแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจ

รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

องค์การไม่แสวงหากำไร ถือเป็นหนึ่งในองค์การที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดหา บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนไม่น้อยไปกว่าองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน มีการเจริญเติบโตขององค์การในรูปแบบนี้ทั่วโลก จากตัวเลขทางสถิติในปี 2014 พบว่า ในสหรัฐอเมริกามีองค์การไม่แสวงหาผลกำไรมากกว่า 1.5 ล้านองค์การทั่วประเทศ (NationalPhilanthropic Trust, 2015)47 ขณะเดียวกันประเทศอินเดีย48 และแคนาดา49 มีหน่วยงานไม่แสวงหา กำไร มากถึง 3.3 ล้าน (One World International, 2010) และ 1.7 แสน หน่วยงาน (Imagine Canada, 2015) ตามลำดับ ด้วยการที่องค์การไม่แสวงหากำไร มีการบริหารจัดการอย่างเสรี มีความยึดหยุ่น ในการบริหารจัดการ ไม่มีข้อจำกัดทางการเมือง และการมีทักษะในการเข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการได้ อย่างหลากหลาย (Dresang, 2009, p. 5; McClellan, 2014, p. 253) ตลอดจนมีเครือข่ายในการ ให้บริการช่วยเหลือครอบคลุมกิจการในแทบทุกด้านทั้ง การบริการสังคม สิ่งแวดล้อม เชื้อชาติ วัฒนธรรมการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน ฯลฯ แก่ประชาชนทุกส่วนได้อย่างเท่าโดยเทียมกันไม่มี การเลือกปฏิบัติ50 (Salamon, Sokolowaski & List, 2003) องค์การไม่แสวงหากำไรยังเสมือนเป็นแหล่ง ขององค์ความรู้ในการแก้ปัญหาสังคมด้วยการเป็นที่รวมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และบุคลากรที่มีจิตอาสา (Volunteer) จิตสาธารณะ (Public Mind) ที่พร้อมช่วยเหลือสังคม กว่าทศวรรษที่ผ่านมานำพาให้องค์การไม่แสวงหากำไรเป็นหนึ่งในองคาพยพที่มีความสำคัญ

9.โครงสร้างองค์กร : ผลกระทบต่อการสื่อสารในองค์การ

While organizations seek for the best structure for it to operate and manage their members, the best pattern of communication across the organizations is being sought. Different types of organization concern the relationship between organizational members because it leads to their coordination of organizational activities to accomplish the organizational objectives. Structuration theorists propose the concept of duality of structure to explain that communication creates structures which simultaneously constrain communication, and limits its ability to change the structure (Kim, 2005, pp.57-59; Sias, 2009, pp.42-54). The structuration.

การเปลี่ยนแปลงของรัฐในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา นำมาซึ่งความเป็นพหุนิยม ความซับซ้อน ของการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รวมไปถึง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างมโหฬาร มากกว่าที่เราจะทำความเข้าใจ เรื่องต่าง ๆ ในมิติเดียว หรือใช้องค์ความรู้เพียงอย่างเดียวได้เพื่อเท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลง จำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้ที่สนใจเรื่ องรัฐ ต้องอาศัยมุมมอง แบบสหวิทยาการในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของรัฐในยุคสมัยใหม่ให้ลึกซึ้] มากขึ้ น “หนังสือเล่มนี้ เป็นความพยายามของนักวิชาการทางด้านรัฐ.ศาสตร์ มหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จะฉายภาพความรู้สำคัญทางด้านรัฐศาสตร์ ที่เป็นความรู้ ร่วมสมัยและมีความหลากหลายประเด็นทางวิชาการ เพื่อจะช่วยอริบายพลวัตร ของรัฐสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น

อ้างอิง

ทิวากร แก้วมณี และวัชรพล พุทธรักษา. (2550). สถานะและความก้าวหน้าของวิชารัฐศาสต์ สาขาวิชาการปกครองในประเทศไทย ระหว่างปี 1990-2007. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน