การเงินในยุคดิจิทัล

ความรู้ทางการเงินในยุคดิจิทัล

หนังสือความรู้ทางการเงินในยุคดิจิทัล เล่มนี้ ผู้เขียนได้รวบรวม และเรียบเรียงเนื้อหา แนวคิด เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรม สำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานทางการเงินและการธนาคาร โดยมีจุดมุ่งหมายใน การวางพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเงินในยุคดิจิทัล เช่น ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต การเทรดหุ้นผ่านทางออนไลน์ รวมถึงการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้เพื่อการจัดการทางการเงิน โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานทางการเงินด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์โครงการ การพยากรณ์ ทางการเงิน การวางแผนระบบงานและการควบคุมทางการเงิน เป็นต้น อีกทั้งผู้เขียน ได้รวบรวมกฏหมายและจรรยาบรรณของคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับงานทางการเงิน โดยผู้อ่านสามารถเรียนรู้ในหลักการต่าง ๆ ของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับ งานทางการเงินและการธนาคาร พร้อมทั้งสามารถนำไปฝึกปฏิบัติในรูปแบบของ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้เพื่อการจัดการการเงินในยุคดิจิทัล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Excel เพื่อนำไปวิเคราะห์ แก้ปัญหาในทางการเงินได้

การเงิน

1. ระบบสารสนเทศทางการเงินและการธนาคาร

ในชีวิตประจำวันของประชาชนย่อมมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงิน อยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น

โดยพัฒนาการทางด้านการเงิน นับวันยิ่งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดความสะดวก สบาย รวดเร็ว กับผู้บริโภค ซึ่งบริการทางด้านการเงิน ได้มีวิวัฒนาการขึ้นจากเมื่อก่อนมาก และมีการผูกกับระบบออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ตเข้าไปรองรับการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ธนาคารต่าง ๆ ยังมีการ นำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการบริการ เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และรองรับการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การเงิน

ดังนั้น ในบทนี้จึงขอกล่าวถึงระบบสารสนเทศทางการเงิน (Financial Information System) ที่มีการออกแบบและพัฒนาระบบทางการเงิน เพื่อทำการพยากรณ์แผนทางการเงิน โดยอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอก การจัดการ ด้านการเงินในการหาแหล่งเงินทุน-จัดสรรเงินทุน และการควบคุมทางการเงิน เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงาน รวมทั้งยังมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)

นิยามและความหมาย

ระบบสารสนเทศทางการเงินและการธนาคาร เป็นระบบสารสนเทศ ที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์กร ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงิน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญ ในการบริหารเงินขององค์กร รวมถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงิน ที่ประกอบด้วย ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และระบบสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

แนวคิดระบบสารสนเทศด้านการเงิน

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System) สนับสนุนผู้จัดการ ฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง โดยจะเกี่ยวข้อง 1) การเงินของบริษัท และ 2) การจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท ซึ่งประเภทของระบบสารสนเทศทางการเงินที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การจัดการเงินสดและ การลงทุน 2) การทำงบประมาณการเงิน 3) การคาดการณ์ทางการเงิน และ 4) การวางแผนทางการเงิน (รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์, 2560) แสดงดังภาพ 1.1

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน

2. ธนาคารอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันได้มีการนำเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประยุกต์ใช้กับภาคการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและมีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้สามารถสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันในภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี (กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต, 2561, 2562) จำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเกือบทุกประเทศมีการเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง (กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต, 2562) เป็นผลให้งานวิจัยส่วนใหญ่ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการบริการการเงินรวมถึงการสร้างความสนใจให้กับงานทางด้านการบริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำไปสู่ การแข่งขันที่สูงขึ้นในระบบการธนาคาร โดยการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก การลดความเสี่ยง พร้อมทั้งการสร้างความไว้วางใจในการพัฒนา เกี่ยวกับการติดต่อกับลูกค้าเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และเป็นอีกช่องทางที่ธนาคารสามารถลดต้นทุนด้านพนักงานบริการได้เป็นอย่างดี จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่เพิ่ม ความท้าทายให้กับทางธนาคาร (Namahoot, K., & Laohavichien, T., 2018)

ในบทนี้จะจะนำเสนอเกี่ยวกับระบบการเงินในอดีตจนถึงปัจจุบัน การเข้าถึงธนาคาร ทางอินเทอร์เน็ต การสมัครเข้าใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการบริการต่าง ๆ ในโมบายแบงก์กิ้ง เช่น การโอนเงิน การตรวจสอบ ยอดเงินคงเหลือ และการชำระค่าบริการต่าง ๆ

3. ระบบหุ้นทางอินเทอร์เน็ต

ในบทนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับระบบหุ้นทางอินเทอร์เน็ต เริ่มตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นก่อน การลงทุนในหุ้น เช่น ความหมายและประเภทของหุ้น กลไกการทำงานของหุ้น ขั้นตอนการลงทุนในหุ้นเทคนิคการวิเคราะห์หุ้น คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนการลงทุนในหุ้น รวมไปถึงการใช้โปรแกรมเทรดหุ้นผ่านทางอินเตอร์เน็ตว่ามีวิธีการใช้อย่างไร

การเงิน

นิยามและความหมาย

Internet Trading คือระบบที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขาย และดูข้อมูลได้ ทั้งหลักทรัพย์ (Equity) และอนุพันธ์ (Futures, Options) โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ของ Internet Trading นั้น สามารถทำให้นักลงทุนได้เข้าถึงข้อมูล ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และส่งคำสั่งการซื้อขายได้เองเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ การตลาด ดังนั้นปัจจุบันการซื้อขายผ่านระบบ Internet Trading จึงเริ่มเข้ามา มีบทบาทต่อนักลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อัตราส่วนของผู้ลงทุน ผ่านระบบ การซื้อขายด้วย Internet Trading จึงมีการปรับตัวที่สูงขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่มีความเข้าใจและความชำนาญจากการใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตก็จะ ได้ประโยชน์อย่างมาก

4. การใช้ฟังก์ชันคำานวณมูลค่าทางการเงินในการวิเคราะห์โครงการ

ในบทนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันคำนวณมูลค่าทางการเงิน ในการวิเคราะห์โครงการ เช่น มูลค่าในอนาคต (Future Value: FV) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และมูลค่าปัจจุบัน (Present Value: PV)

นิยามและความหมาย

การวิเคราะห์และประเมินโครงการเป็นการประเมินภาพรวมทั้งหมด ของโครงการ ในบทนี้ขอนําเสนอการวิเคราะห์ปัญหาด้านการเงินในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์และประเมินโครงการเพื่อตัดสินใจลงทุนด้านการเงิน โดยฟังก์ชัน ในกลุ่มนี้จะนำมาใช้วิเคราะห์ตัวเลขทางการเงิน เพื่อวางแผนการบริหารและ การจัดการการเงิน โดยจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ใช้งานทางการเงิน คือ ฟังก์ชันคำนวณมูลค่าทางการเงิน ฟังก์ชันคำนวณผลตอบแทน จากการลงทุน ฟังก์ชันคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ และฟังก์ชันคำนวณค่าเสื่อมราคา

5. การวางแผนระบบงานทางการเงินด้วยฟังก์ชันคำานวณเกี่ยวกับการลงทุน

ในบทนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันคำนวณมูลค่าทางการเงิน ในการวิเคราะห์โครงการ การหามูลค่าเงินที่เป็นค่าของดอกเบี้ย จากการชำระหนี้ แต่ละงวด (IPMT) การคำนวณหาจํานวนงวดของการผ่านชำระเงินกู้หรือเงินลงทุน (NPER) การคำนวณหาจำนวนเงินที่เกิดขึ้นแต่ละงวดจากการชำระคืนเงินกู้หรือเงินลงทุน (PMT) การคำนวณหายอดเงินต้นที่ต้องชำระคืนในแต่ละงวด (PPMT) และการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยต่องวดของเงินกู้ (RATE)

นิยามและความหมาย

การวางแผนทางการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเงินในการดำเนินงาน ด้านธุรกิจ โดยที่ผู้ดูแลทางการเงินมักจะต้องทำการวางแผนล่วงหน้าสำหรับ การใช้เงินในด้านต่าง ๆ เช่นการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต การส่งเสริมการจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มการขาย การเพิ่มบุคลากรของแผนกต่าง ๆ เพื่อการขยายงานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของดอกเบี้ยเกิดขึ้น ดังนั้นจึงถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงและมีการวางแผนระบบงานการเงิน

6. การควบค้มูทางการเงินด้วยฟังก์ชันคำานวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

ในบทนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันคำนวณมูลค่าทางการเงิน ในการวิเคราะห์โครงการ การคำนวณหาอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ (DISC) การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนของโครงการ (IRR) การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน (MIRR) การคำนวณหาจำนวนเงินที่ได้รับในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอนหลักทรัพย์ประเภทและดอกเบี้ยคงที่ (RECEIVED)

การเงิน

นิยามและความหมาย

การควบคุมทางการเงินถือเป็นปัจจัยหนึ่งทางการเงินที่มีความสำคัญ ซึ่งในทางธุรกิจเงินสดจัดว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ดังนั้นในธุรกิจทุกประเภทมักต้องมีการจัดการรายการของเงินสด เพื่อให้เห็น ความเคลื่อนไหวของรายการเงินสดจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมการใช้เงินสด อยู่ตลอดเวลาเช่นงบกระแสเงินสด โดยจะแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสด อันเนื่องมาจากกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมคือ 1. กิจกรรมการดำเนินงาน 2. กิจกรรมการลงทุน และ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน

7. กฎหมายและจริยธรรมของคอมพิวเตอร์กับงานทางการเงิน

สังคมสารสนเทศเป็นสังคมใหม่ เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการ และทันเวลา เพื่อให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมเป็นไปโดยสันติและสงบสุข เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่มากำหนดควบคุมเพื่อให้สังคม ดังกล่าวให้มีความสงบเรียบร้อย ในปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน เป็นอย่างมาก มีการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารกันมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ผิด โดยรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือการกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และยังเป็นช่องทางในการเข้าถึงการพนันและสื่อลามกได้ง่าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้บังคับ ควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเมื่อมีกฎหมายออกมาบังคับใช้แล้ว ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะปฏิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้

การเงิน

8. บรรณานุกรม

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. (2560). ด้านสารสนเทศสำหรับธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์และสื่อสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Namahoot, K., & Laohavichien, T. (2018). Assessing the intentions to use internet banking: the role of perceived risk and trust as mediating factors. International Journal of Bank Marketing, 36(2), 256-276.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน