กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด ในผู้ป่วยภาวะวิกฤต

กายภาพบำบัด ในผู้ป่วยภาวะวิกฤต ที่ผ่านการเรียบเรียงมาจนเป็นเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการซักประวัติ การตรวจประเมินระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิต การประเมินผลตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายรังสีทรวงอก เทคนิคการรักษาและโปรแกรมการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกายภาพบําบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต จะเห็นได้ว่าคณะผู้เขียนได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียน มีเนื้อหาและรูปภาพประกอบทําให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย รวมทั้งงานวิจัยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ผสมผสานให้เนื้อหามีความทันสมัยและมีความสมบูรณ์ สามารถใช้เป็นที่อ้างอิง สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการกายภาพบําบัดเป็นอย่างมาก

กายภาพบำบัด_11

สัมภาษณ์ผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการซักประวัติ การตรวจประเมินร่างกายทางกายภาพบําบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิต ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและสัญญาณชีพในการตัดสินใจให้การรักษาทางกายภาพบําบัด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายรังสีทรวงอก ปัญหาทางกายภาพบําบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิต เครื่องช่วยหายใจ และการบําบัดด้วยออกซิเจน เทคนิคการรักษาทางกายภาพบําบัดและโปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายแก่ผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญสําหรับ นักกายภาพบําบัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลรักษาทางกายภาพบําบัดสําหรับผู้ป่วย

กายภาพบำบัด_10

บทที่ 1 การซักประวัติทางกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยภาวะวิกฤต

ข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย (Patient Database) ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยสามารถหาได้จากแฟ้มบันทึกผลซักประวัติ ตรวจร่างกาย การรักษาทางการแพทย์ โดยรูปแบบของการบันทึกประวัติของผู้ป่วยมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงพยาบาล ข้อมูลที่ได้จากแฟ้มประวัติในส่วนแรกประกอบด้วย ชื่อผู้ป่วย วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ของผู้ป่วย เลขประจําตัวผู้ป่วย และแพทย์เจ้าของไข้ ในส่วนที่สองประกอบด้วย ประวัติการรักษาทางการแพทย์ และการตรวจประเมินทางกายภาพบําบัด การซักประวัติ (Subjective Assessment) การซักประวัติจากผู้ป่วย ควรเป็นคําถามปลายเปิด เช่น ผู้ป่วยมีอาการอะไรมา การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับผู้ป่วยมีความสําคัญมาก โดยสิ่งต้องถาม ได้แก่ อาการ ความรุนแรง และการดําเนินโรค

บทที่ 2 การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยภาวะวิกฤต

การสังเกตทั่วไป (General Observation) การประเมินด้วยวิธีการสังเกต เริ่มจากนักกายภาพบําบัดสังเกตดูว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจลําบาก มีอาการเขียว และใช้ออกซิเจนหรือไม่ ถ้าใช้ใช้เท่าไร ลักษณะการพูดสามารถพูดได้ต่อเนื่องหรือต้องพูดไปพักหายใจไป ในผู้ป่วยภาวะวิกฤตต้องมีการสังเกตมากขึ้น เช่น เครื่องช่วยหายใจ ท่อช่วยหายใจ ยาควบคุมความดันต่าง ๆ ที่ให้ทางหลอดเลือดดํา หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีระดับการรับรู้สติลดลง อาจจะมีความเสี่ยงต่อการสําลักและมีเสมหะคั่งค้าง

บทที่ 3 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการและสัญญาณชีพเพื่อการตัดสินใจให้การรักษาทางกายภาพบำบัด

สัญญาณชีพ (vital sign) สามารถสังเกตและตรวจพบได้จากอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการทํางานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ ปอด สมอง ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ เป็นต้น หากพบว่าสัญญาณชีพมีความผิดปกติ อาจบ่งถึงความผิดปกติของร่างกาย ดังนั้น การเข้าใจค่าปกติของสัญญาณชีพจึงมีความสําคัญ โดยเฉพาะในผู้ป่วยภาวะวิกฤต เนื่องจากอาการของผู้ป่วยมักเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นักกายภาพบําบัดต้องประเมินและคอยสังเกตค่าสัญญาณชีพของผู้ป่วยเสมอในขณะให้การรักษาทางกายภาพบําบัดและใช้ค่าสัญญาณชีพเป็นข้อมูลร่วมสําหรับการตัดสินใจเลือกเทคนิคการรักษาทางกายภาพบําบัดในแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบําบัดที่เหมาะสมปลอดภัย ค่าสัญญาณชีพปกติแสดงในตารางที่ 3.1

บทที่ 4 คลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับนักกายภาพบำบัด

ระบบการนําไฟฟ้าของหัวใจ การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นผลของ Depolarization จากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงสามารถบันทึกได้โดยการติดขั้วไฟฟ้าลงบนผนังทรวงอกและบันทึกลงในกระดาษบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยปกติเริ่มจาก Sinoatrial (SA) node ซึ่งเป็นตัวกําหนดอัตราการเต้นของหัวใจตามธรรมชาติ มีอัตราการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที สัญญาณไฟฟ้าจาก SA node เดินทางผ่าน Atrial ทําให้เกิด Depolarization เมื่อสัญญาณไฟฟ้าเดินทางผ่าน Atrial เข้าสู่ Atrioventricular (AV) node โดย AV node จะชะลอสัญญาณไฟฟ้าที่เดินทางมาประมาณ 0.08 ถึง 0.12 วินาที การชะลอสัญญาณเพื่อให้ Atrium เกิดการหดตัวก่อนที่จะส่งสัญญาณต่อไป นอกจากนี้ AV node ยังมีความสามารถในการให้กําเนิดสัญญาณไฟฟ้าได้ หากมีความผิดปกติของการทํางานของ SA node

บทที่ 5 ภาพถ่ายรังสีทรวงอกสำหรับนักกายภาพบำบัด

ข้อบ่งชี้ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอก สําหรับการตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีข้อบ่งชี้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

  1. โรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ไม่เคยมีภาพถ่ายทางรังสีทรวงอกมาก่อน
  2. ทรวงอกได้รับบาดเจ็บขั้นรุนแรง (Severe Chest Trauma) 
  3. มีภาวะไอเป็นเลือด (Hemoptysis)
  4. ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย สงสัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) หรือเนื้อเยื่อปอดอักเสบ (Interstitial Lung Disease)
  5. สงสัยว่ามีภาวะโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) ปอดอักเสบ (Pneumonia) ภาวะน้ําในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
  6. ผลการทดสอบวัณโรคทางผิวหนังเป็นบวก
  7. อาการทางระบบหายใจที่เพิ่งตรวจพบในผู้ป่วยที่มีใช้ที่เป็นผลจาก Neutrophit ต่ำ เรียก Febrite Neutrogenia
  8. สงสัยว่ามีเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy) หรือมีการแพร่กระจาย ของมะเร็ง (Metastasis)
กายภาพบำบัด_8

บทที่ 6 ปัญหาทางกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจและไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยภาวะวิกฤต

เสมหะคั่งค้างในปอด (Secretion Retention) เสมหะคั่งค้างเป็นปัญหาสําคัญทางกายภาพบําบัด เนื่องจากสามารถนําไปสู่ภาวะปอดติดเชื้อหรือภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) และเป็นสาเหตุของปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง (Impaired Gas Exchange) และการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Airflow Limitation) หากปัญหาเสมหะคั่งค้างในปอดไม่ได้รับการแก้ไข ทําให้ภาวะติดเชื้อในปอดคงอยู่ อาจทําให้ผู้ป่วย เกิดโรคปอดเรื้อรังได้ในอนาคต เช่น โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นต้น (Pryor JA, et al., 2008) กลไกการขับเสมหะในปอดประกอบด้วย 2 กลไก คือ การทํางานของขนพัดโบก (mucociliary Clearance) และการไอ (Coughing) สิ่งแปลกปลอมหรือเสมหะในทางเดินหายใจถูกหุ้มด้วยเมือก (Mucous) ที่สร้างจาก Goblet Cell และ Submucosal Gland เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหรือเสมหะมีความหนืดลดลงและลดการระคายเคืองของท่อทางเดินหายใจโดยปกติท่อทางเดินหายใจมีการหลั่งเมือก (Mucous) ประมาณ 100 มิลลิลิตรต่อวัน โดย Cilia พัดโบกให้เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากท่อทางเดินหายใจขนาดเล็กเคลื่อนตัวสู่ท่อทางเดินหายใจขนาดใหญ่ เมื่อเสมหะเคลื่อนมาถึงบริเวณกล่องเสียง (Larynx) จะกระตุ้นให้เกิดการไอขับเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกมาจากท่อทางเดินหายใจ โดยเสมหะที่ถูกขับออก เรียกว่า Sputum (Houtmeyers E, et al., 1999)

บทที่ 7 กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องช่วยหายใจเป็นเครื่องมือที่ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้เองหรือหายใจไม่ เพียงพอ จากปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือตล้มเหลว ระบบส่วนกลาง ผิดปกติ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องช่วยหายใจ มีดังนี้

  1. เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดแดง
    ถ้าการระบายอากาศกับปริมาณเลือดต่ําที่ผ่านปอตไม่สมดุล ทําให้ออกซิเจนในเลือดแดงต่ํา ดังนั้น การเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนผ่านทางเครื่องช่วยหายใจ ทําให้ออกซิเจนในเลือดแดงดีขึ้น
  2. ลดการทํางานของการหายใจ
    ในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกจากอุบัติเหตุ เช่น กระดูกซี่โครงหัก ภาวะอกรวน เป็นต้น ทําให้ผนังทรวงอกไม่สามารถคงรูปเพื่อรักษาความดันในปอด รวมทั้งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจไม่เพียงพอ ปริมาตรอากาศหายใจและความจุปอดน้อยลง ส่งผลให้ต้องใช้แรงในการหายใจมากกว่าปกติ โดยเพิ่มการทํางานของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ดังนั้น การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวกในขณะหายใจเข้าสามารถช่วยลดการทํางานของกล้ามเนื้อช่วยหายใจเพื่อป้องกันภาวะหายใจล้มเหลว
  3. ช่วยระบายอากาศในปอด
    เครื่องช่วยหายใจสามารถช่วยการระบายอากาศอย่างเพียงพอในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ไม่สามารถหายใจเข้าได้เพียงพอ ภาวะหายใจล้มเหลวสามารถเกิดในโรคระบบทางเดินหายใจหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุทรวงอกที่มีผลต่อปอตหรือผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด ส่งผลให้พื้นที่ของปอดมีการแลกเปลี่ยนก๊าซลตลง รวมถึงความไม่สมดุลกันระหว่างการระบายอากาศและการไหลเวียนเลือดในปอต (Ventilation Perfusion Mismatch)

บทที่ 8 กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน

การให้การรักษาทางกายภาพบําบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤตส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักได้รับการบําบัด ด้วยออกซิเจน ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าการบําบัดด้วยออกซิเจนสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยจํานวนมากไม่ให้เสียชีวิตจากภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนได้ แต่การใช้การบําบัดด้วยออกซิเจนที่ไม่ถูกต้องอาจทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ข้อบ่งชี้ (Indication) ของการบําบัดด้วยออกซิเจน

  1. แก้ไขหรือป้องกันภาวะออกซิเจนในเลือดต่ํา
  2. ลดงานในการหายใจ
  3. ลดการทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และ ลดอาการปวด
  4. หลังการดมยาสลบ โดยให้ในระยะเวลาสั้น ๆ
  5. อื่น ๆ เช่น การบําบัดด้วยออกซิเจนภายใต้ความกดดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เป็นต้น
กายภาพบำบัด_7

บทที่ 9 เทคนิคการรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤต

การบําบัดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและข้อต่อคิด เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว นอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน อาจทําให้กล้ามเนื้อ อ่อนแรงและอาจมีข้อต่อติด เทคนิคการรักษาผู้ป่วยที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ ประกอบด้วยวิธีการดังนี้ การขยับเคลื่อนไหวร่างกาย (Mobilisation) การขยับเคลื่อนไหวข้อต่อส่วนรยางค์แขนและขาทั้งแบบนักกายภาพบําบัดทําให้หรือให้ผู้ป่วยทําเอง สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ ข้อต่อและมีความจําเพาะเจาะจงกับกล้ามเนื้อ สามารถทําได้ทุกวัน และนําไปรักษากับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาทที่มีอาการคงที่ ผลของการขยับเคลื่อนไหวร่างกายทําให้ระบบการทํางานต่าง ๆ ของร่างกาย การรับรู้ และระบบการหายใจผู้ป่วยดีขึ้น ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดจากหลอดเลือดดําอุดตันได้ โดยสามารถเพิ่มความก้าวหน้าในการรักษาด้วยการเพิ่มระยะเวลาในการขยับเคลื่อนไหวร่างกายผู้ป่วยนานขึ้น สามารถทําการรักษาร่วมกับการปรับเตียงให้หมุนที่ระดับ 60 องศา โดยสามารถหมุนไปทางซ้ายและขวาได้ เพื่อช่วยป้องกันเสมหะคั่งค้างใน ทางเดินหายใจ ภาวะปอดแฟบ ลดการเกิดภาวะปอดแฟบ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ลดระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากนี้ การจัดท่าศีรษะสูง 45 องศา การปรับเปลี่ยนท่าทางผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ร่วมกับการเคลื่อนไหวแบบทําให้ทุก ๆ ข้อต่อ การปั่นจักรยานแบบทําให้บนเตียง และการกระตุ้น ไฟฟ้า สามารถทําได้ร่วมกับการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยให้มีการเพิ่มการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและการระบายอากาศ

บทที่ 10 โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต

การประเมินผู้ป่วยก่อนให้โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายในภาวะวิกฤต ก่อนให้โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกาย นักกายภาพบําบัดควรต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยก่อนให้การรักษาทางกายภาพบําบัด โดยพิจารณาข้อมูลจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วย เช่น ประวัติการรักษาทางยาที่ส่งผลต่อการทํางานของระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ความสามารถในการออกกําลังกายของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาเป็นอย่างไร การทํางานของระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักความดันโลหิต คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง เครื่องช่วยหายใจ ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด อุณหภูมิร่างกาย ระดับการรับรู้สติหรือข้อห้ามทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางยาที่มีผลต่อค่าดังกล่าวและบางรายได้รับยาจํานวนมาก หากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าผลจากการตรวจประเมินที่พบนั้นเป็นข้อห้ามในการให้โปรแกรมการเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ ควรปรึกษากับทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ นักกายภาพบําบัด พยาบาล และพยาบาลเฉพาะทางระบบหายใจ ควรวัดสัญญาณชีพก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาทางกายภาพบําบัด ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น ดังตารางที่ 10.1

รศ. ดร. กภ.วีระพงษ์ ชิดนอก

ภาควิชากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์

กภ.เอกลักษณ์ กอบสาริกรณ์

นักกายภาพบำบัด
บริษัทศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร
บำรุงราษฎร์ จำกัด

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน