การเสื่อมของไตจากเบาหวาน

การเสื่อมของไตจากเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งมีโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักอันดับต้น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ทั้งนี้หากผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการส่งเสริมและป้องกันการเสื่อมของไตอย่างถูกต้องจะช่วยชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น หนังสือเล่มนี้ นำเสนอแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พยาบาล นิสิตและนักศึกษา เพื่อการส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 4 ด้าน คือ ด้านอาหาร ด้านอารมณ์ ด้านการออกกำลังกายและด้านการรักษาและการใช้ยา

การเสื่อมของไต

โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบไปด้วยสาระสำคัญ 4 บทใหญ่ บทที่ 1 โรคไตเสื่อมจากเบาหวาน บทที่ 2 ทฤษฎีการจัดการตนเอง บทที่ 3 การส่งเสริมการจัดการระบบการดูแลสุขภาพ และบทที่ 4 การส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการชะลอไตเสื่อมในชุมชน

วางจำหน่ายแล้ววันนี้

การเสื่อมของไต

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO)เบาหวาน DM (Diabetes Mellitus) คือ โรคที่เป็นปัญหาทางสุขภาพ และเป็นโรคหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูงของโลก (WHO, 2014) และจากการเปิดเผยของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) ระบุว่าในปี 2014 มีประชากรผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานทั่วโลก จำนวน 382 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า 90 % (IDF, 2014)และในปีเดียวกันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยกว่า 4 ล้านราย จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ปี 2009 (พ.ศ. 2552)

พบความชุกหรือความแพร่หลายของภาวะ IFG (Impaired Fasting Glucoseหรือภาวะของคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จัดว่าเป็นเบาหวาน คือ อยู่ในระดับ 110-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 10.06 เปอร์เซ็นต์และความชุกของโรคเบาหวานในประชากรวัยผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป มีจำ นวน 7.5 เปอร์เซ็นต์(Aekplakorn, et al., 2011) ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานนำ ไปสู่ปัญหาทางการแพทย์หลายประการ รวมถึงภาวะไตผิดปกติจากเบาหวาน หรือ DN (DiabeticNephropathy) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด (Deerochanawong, & Ferraio,2013) เมื่อภาวะไตผิดปกติเลวร้ายจนกลายเป็นโรคไตเรื้อรัง CKD (Chronic KidneyDisease: CKD) ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะทุพพลภาพ ซึ่งจะมีผลต่อผู้ป่วยครอบครัว และสังคมอย่างมาก ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว (Tsiouli, et al., 2013)

เอกสารอ้างอิง

Tsiouli, E., Alexopoulos, E. C., Stefanaki, C., Darviri, C., & Chrousos, G. P. (2013). Effects of diabetes-related family stressglycemic control in young patients with type 1 diabetes: Systematic review. Canadian Family PhysicianMédecin de Famille Canadien, 59(2), 143-149.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน