อนามัยโรงเรียน

อนามัยโรงเรียน (ฉบับปรับปรุง)

อนามัยโรงเรียน (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 2 เล่มนี้ผู้เขียนได้ทุ่มเทเวลาและความพยายามอย่างมากเพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นสำหรับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้ เรื่องของงานอนามัยโรงเรียนและใช้เป็นแนวทางสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน เรื่อง แนวคิดและบทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

อนามัยโรงเรียน

ซึ่งเนื้อหาในตำราเล่มนี้ประกอบด้วย แนวคิดการพยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และยังมีเนื้อหาเพิ่มเติมในเรื่อง การสร้างเสริมและป้องกันการเจ็บป่วยในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชนในการตรวจสุขภาพนักเรียนและการลงบันทึกต่าง ๆ รวมถึง การให้สุขศึกษาและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ซึ่งนักศึกษาพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้และปฏิบัติรวมถึงบุคลากรในโรงเรียนได้นำไปศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ต่อไป

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหาอัดเน้นถึง 9 บท ได้แก่

1. แนวคิดงานอนามัยโรงเรียน

การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียนซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษา ซึ่งสุขภาพกับการศึกษานั้นยากที่จะแยกออกจากกันได้ หรือ ที่เรียกว่า “สุขภาพเป็นบูรณาการส่วนหนึ่งของการศึกษา” นั้น เป็นหน้าที่ของพยาบาลผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนที่ต้องดำเนินการ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อสร้างเสริม สุขภาพ ป้องกันโรค แก้ไขปัญหาสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพนักเรียน ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งการตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการค้นหาความบกพร่อง หรือความผิดปกติด้านสุขภาพของนักเรียน เป็นการช่วยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก สามารถให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และดูแลรักษา หรือส่งต่อไปรับการรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้

2. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

อนามัยโรงเรียน

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ หรือ Health Promoting Schools ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) คือ โรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่งมั่นคงที่จะเป็นสถานที่ ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษาและทำงาน (A health promoting school is one that constantly Strengthens its capacity as a healthy setting for living, learning and working)

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความหมายของโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ คือ โรงเรียนที่มีความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดีของทุกคนในโรงเรียน

สรุปความหมายของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ พัฒนาที่มีความครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคนทั้งในโรงเรียนและชุมชน ให้สามารถนำความรู้และทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการดูแลเอาใส่ใจสุขภาพของตนเอง และผู้อื่น รวมทั้งสามารถตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังทัศนคติ ฝึกทักษะ และพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และปลอดภัย ทำให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

3.พยาบาลชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน

พยาบาลอนามัยชุมชน (Community Health Nursing) (ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ, 2549: 2) คือ การพยาบาลสาขาหนึ่งซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสุขภาพของชุมชน โดยนำความรู้ทางการพยาบาลศาสตร์ การสาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ฯลฯ มาใช้ในการปฏิบัตินำกระบวนการพยาบาล หรือกระบวนการแก้ปัญหามาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน และบุคลากรอื่นในทีมสุขภาพ ในทุกขั้นตอน การวางแผนและดำเนินการด้านบริการเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การพยาบาลอนามัยชุมชนเป็นการดูแลสุขภาพ ของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในเขตที่รับผิดชอบ ดูแลทั้งผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ไม่เจ็บป่วย ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ต่อโรค และผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วย ทั้งเรื้อรัง และเฉียบพลัน โดยผสมผสานบริการครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุ ของโรค และปัญหาสุขภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพิ่มศักยภาพและความสามารถดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดการป่วย การตาย ความพิการจากโรคหรือปัญหาสุขภาพที่มีวิธีป้องกันได้

4. การตรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน

อนามัยโรงเรียน

การตรวจสุขภาพ (Health Examination or Health Appraisal) นักเรียนในโรงเรียนเป็นกิจกรรมเพื่อสำรวจความผิดปกติทางด้านสุขภาพในระยะเริ่มแรกเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ แก้ไขหรือส่งต่อเพื่อขอคำแนะนำหรือบำบัดรักษา ป้องกันมิให้ความบกพร่องนั้น ๆ ลุกลามเป็นผลร้ายแรง ป้องกันการแพร่กระจายของโรค ช่วยจูงใจนักเรียนให้เกิดความสนใจที่จะดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดี

5. การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยในเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ การมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่เด็กจะส่งผลให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีในวันข้างหน้า การสร้างเสริมสุขภาพในเด็กเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ต้อง รับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งประเทศและชุมชนควรมีการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยของเด็ก แต่หน่วยที่สำคัญที่สุดในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยในเด็ก คือ ครอบครัว

ซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ซึ่งได้แก่ บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่ม ที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก ขณะเดียวกันก็ต้องฝึกให้เด็ก ได้มีความรับผิดชอบในการสร้างเสริมสุขภาพตนเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพในเด็กไม่ได้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะร่วมมือกันในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย ในเด็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่ดีและเจริญเติบโตอย่างสมวัย

6. การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในเด็กวัยเรียน

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนมีความสำคัญมาก ในงานอนามัยโรงเรียน เพราะปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่พบมีผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนทั้งในระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรงมาก ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีผลต่อการเรียนของนักเรียนเอง และผู้ปกครองเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ถ้ามีการส่งเสริมและเฝ้าระวังที่ดีจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมาลดลงได้

ทุกคนในโรงเรียนย่อมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและเฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ผู้อำนวยการ ครูประจำชั้น นักเรียน หรือ ภารโรง รวมทั้งผู้ประกอบอาหารหรือผู้จำหน่ายอาหาร บุคคลต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพยาบาลอนามัยโรงเรียน ก็ย่อมมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดำเนินการส่งเสริมป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพในโรงเรียน และให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายโรงเรียน หรือแม้แต่ผู้ปกครองก็มีบทบาทในส่วนนี้เหมือนกัน เช่น

ไม่ให้บุตร ที่ป่วยมาโรงเรียน เพราะจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อโรคไปยังนักเรียนคนอื่นเป็นต้น ดังนั้นบทนี้จึงได้อธิบายวิธีการส่งเสริมและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น กับนักเรียนในโรงเรียนบ่อย ๆ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในงานอนามัยโรงเรียนต่อไป

7. อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

สิ่งแวดล้อม (Environment) (อาคม รุนสีงาม, 2555; สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2558) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีลักษณะทางกายภาพที่มองเห็นได้จับต้องได้หรือสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสอื่น ๆ ได้ เช่น มนุษย์ พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ สิ่งของต่าง ๆ หรือเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสอื่น ๆ ได้ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อต่าง ๆ

ดังนั้น สิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือสังคม ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือพัฒนาการต่าง ๆ ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยผลของการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม ทั้งในการดำรงชีพและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลให้สิ่งแวดล้อมกลายเป็นของเสียหรือถูกของเสียปนเปื้อน จนเกิดอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้

8. การสอนสุขศึกษาในโรงเรียน

สมาคมการศึกษาแห่งชาติและสมาคมการแพทย์อเมริกัน Natianal Educaton Assaciaticn (NEA) และ American Medical Association (AMA) ได้ให้ความหมายของคำว่าสุขศึกษาไว้ว่า “สุขศึกษา คือ ผลรวมของประสบการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ เจตคติและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ”

9. การนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในงานอนามัยโรงเรียน

เป็นการวางกรอบการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพในทุกมิติ ของการพยาบาล และทุกสถานบริการสุขภาพที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ สามารถใช้ได้ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน กระบวนการพยาบาลเป็นพื้นฐานของ กรอบแนวคิดวิเคราะห์ทางการพยาบาลที่เป็นระบบเป็นขั้นตอน ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ทางการพยาบาล ทฤษฎีการพยาบาล หลักทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาปัญหาที่มาของปัญหา เพื่อนำมาสู่การวางแผน การพยาบาลให้สอดคล้องกับความต้องการหรือปัญหาสุขภาพเป็นรายบุคคล ซึ่งรวมถึงทักษะการตัดสินใจ ทางคลินิกในการเลือกกิจกรรมการพยาบาลในการแก้ปัญหา

การค้นหาปัญหา หรือความต้องการทางสุขภาพของผู้รับบริการ ในแต่ละคนมีความหลากหลาย ที่มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความรุนแรงของโรคที่เป็น วิถีชีวิตขนบธรรมเนียม ประเพณี เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความเชื่อ ดังนั้น กระบวนการพยาบาลจึงถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลที่สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการหรือสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการเป็นรายบุคคลได้ กระบวนการพยาบาล ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่พยาบาลได้นำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ

กระบวนการพยาบาล หมายถึง การปฏิบัติการพยาบาลที่มีขั้นตอนที่พยาบาลคิดวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การประเมิน ภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การใช้แผนการพยาบาล การประเมินผล การพยาบาล (Potter & Perry, 2005; American Nurses Association, 1998)

เอกสารอ้างอิง

American Nurses Association. (1998). Standardhttps://www.amazon.com/Standards-Clinical-Nursing-Practice-2nd/dp/B000ICSGIS of Clinical Nursing Practice, American Nurses Association, 2nd ed., DC: American Nurses Publishing.

Potter, P.A. & Perry, A.G. (2005). Fundamental of Nursing. 6th ed. St. Louis: Mosby

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน