สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

สื่อพิมพ์เพื่อการศึกษา หนังสือที่อธิบายความหมายและวิธีการทำสื่อเพื่อการศึกษาอย่างละเอียด

สื่อพิมพ์เพื่อการศึกษา หนังสือที่อธิบายความหมายและวิธีการทำสื่อเพื่อการศึกษาอย่างระเอียดมิใช่เพียงแค่หนังสือหรือเอกสารทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อ่านโดยผ่านการรับรู้ทางสายตา มีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับสื่อพิมพ์เพื่อการศึกษา ถึงความสำคัญของสื่อพิมพ์เพื่อการศึกษากระบวนการพิมพ์ ออกแบบสารอย่างไรให้อ่านและเข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจ ตัวอักษรควรใช้แบบไหนขนาดเท่าไหร่ การจัดหน้าพิมพ์ทำอย่างไร กราฟและแผนภูมิ การเชื่อมโยงข้อความในรูปแบบของข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ ช่วยส่งเสริมการรับรู้ได้อย่างไร มีกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพสื่ออย่างไร ทุกอย่างที่เป็นคำถาม คุณหาคำตอบเหล่านั้นได้ในหนังสือเล่มนี้

สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

1. แนวคิดสื่อพิมพ์เพื่อการศึกษา

หนังสือกับการศึกษาเป็นของคู่กันมาโดยตลอดสำหรับ ทุกระดับชั้น จนพูดกันติดปากว่า “เรียนหนังสือ” หนังสือที่ใช้ ในการเรียนการสอนมีหลากหลาย เช่น หนังสือแบบเรียนหรือ ตำราเรียนคู่มือปฏิบัติการ หนังสืออ้างอิง พจนานุกรม ปทานุกรม ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าครูและนักเรียนทั่วโลกต่าง ยังต้องพึ่งหนังสือและเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทาง สำหรับการเรียนการสอน ถึงแม้เราจะอยู่ในยุคที่มีการใช้ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี อย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่หนังสือก็ยังมีบทบาท สำคัญในฐานะ “สื่อหลัก” ของระบบการศึกษาเสมอมา

2. การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

หนังสือไม่ใช่ information แต่ information ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องมีอยู่ใน หนังสือเท่านั้น แนวคิดใน ประเด็นนี้ทำให้เราตระหนักว่า หนังสือนั้นไม่สามารถบรรจุเรื่อง ราวทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพราะใน การจัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่ง ๆ นั้นคงต้องพิจารณาถึงปัจจัย ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ผู้แต่ง หรือผู้เรียบเรียงคงจะต้องมีการวางแผนในการเตรียม ต้นฉบับอย่างเคร่งครัด ทั้งด้านภาษาและเนื้อหาสาระ ที่ถูกต้องตามหลักการและทฤษฎีตั้งแต่ต้นจนจบ และทาง ผู้จัดพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ก็จะต้องพิจารณาถึงเรื่องการ ลงทุน กระบวนการพิมพ์ การจัดจำหน่าย ฯลฯ และทั้งนี้ ย่อมคำนึงถึงผลกำไรในเชิงธุรกิจด้วย แต่ information ที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ต้องคิดถึงเรื่องเหล่านี้กันเลย

3. กระบวนการพิมพ์

กระบวนการพิมพ์ (publishing process) ในการผลิตสื่อพิมพ์ เพื่อการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ควรมีการวางแผนการทำงานอย่างรัดกุม โดยคำนึงถึงขอบข่าย ของสาระเรื่องราวและวัตถุประสงค์ของเอกสารนั้น ๆ ผู้อ่าน คือใคร เป็นนักเรียน-นักศึกษาระดับชั้นไหน ผู้เข้าอบรม มีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างไร รวมทั้งลักษณะของการจะนำเอา เอกสารนี้ไปใช้ด้วย เช่น จะใช้สำหรับการอ่านตามปกติ หรือ ใช้เป็นคู่มือสำหรับการปฏิบัติการ หรือใช้เป็นเอกสารอ้างอิง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาก่อนจะ ลงมือเขียนทุกครั้ง เพราะจะเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบ และกระบวนการผลิตเอกสารต่อไปด้วย เมื่อทราบข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นแล้ว ต่อไปคือ การเริ่มลงมือ เขียนรายละเอียดของเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งควรระลึกอยู่ เสมอว่า เอกสารที่มีคุณภาพนั้นควรมีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีการจัดระเบียบตามลำดับ ของเนื้อหาใช้ภาษาที่อ่านง่าย มีภาพประกอบที่ช่วยอธิบาย หรือขยายความให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจพบว่า การใช้ภาพประกอบที่ไม่จำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับเนื้อหา อาจทำให้เอกสารนั้นด้อยคุณภาพลงได้ เมื่อเขียนรายละเอียดเสร็จแล้ว ก็เตรียมการเพื่อเข้าสู่ กระบวนการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้หมายถึง การออกแบบรูปเล่มให้เอกสารหรือหนังสือเล่มนั้น ได้แก่ การเลือกขนาดกระดาษ การเลือกรูปแบบและขนาดตัวอักษร การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ การกำหนดระยะห่าง ระหว่างบรรทัด ฯลฯ จนในที่สุดได้เอกสารที่เป็นรูปเล่มออก มาเพื่อนำไปเผยแพร่สู่ผู้อ่านต่อไป ซึ่งผู้อ่านจะเป็นผู้ประเมิน คุณภาพของเอกสารนั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทาง สำหรับการปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป

4. การออกแบบเอกสาร

ในยุคที่การพิมพ์เอกสารยังใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ ลงบนกระดาษไข แล้วนำไปอัดสำเนาด้วยเครื่องโรเนียว (mimeograph) นั้น จะไม่ค่อยมีใครพูดถึงการออกแบบ เอกสาร (document design) กันมากนัก เพราะขีดจำกัดของ อุปกรณ์การพิมพ์ที่มีใช้ในสมัยนั้นไม่เอื้อต่อการออกแบใด ๆ ได้เลย จะทำอะไรให้ดูแปลกไปกว่าการพิมพ์ปกติก็เป็น เรื่องยุ่งยากเหลือเกิน แต่เมื่อถึงยุคของคอมพิวเตอร์ที่มี โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการพิมพ์เอกสาร ซึ่งมีตัวพิมพ์ รูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากมาย และยังสามารถจัดหน้าพิมพ์ ให้ดูสวยงามน่าอ่านยิ่งขึ้น การแทรกภาพประกอบก็เป็นเรื่อง ง่ายเสียเหลือเกิน ดังนั้น จึงทำให้ผู้อ่านเริ่มต้องการเอกสารที่ ออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว แม้แต่เอกสารประกอบการ บรรยายในมหาวิทยาลัยที่เคยใช้เครื่องพิมพ์ดีดกัน ก็ต้อง พัฒนาไปสู่ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพเกือบ เทียบเท่าระดับโรงพิมพ์

5. การจัดหน้าพิมพ์

หลักการทั่วไปของการออกแบบคือ การทำให้เอกสารนั้น ๆ น่าสนใจ ชวนอ่าน น่าติดตาม รู้สึกสะดวกสบายต่อการอ่าน เรียกว่า การจัดหน้าพิมพ์ (page layout) ซึ่งควรคำนึงถึงปัจจัย ต่าง ๆ ต่อไปนี้ นอกจากนี้ ยังควรเลือกแบบตัวพิมพ์ (font หรือ type) อย่างพิถีพิถัน เพราะเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการพิมพ์ อีกแขนงหนึ่งคือวิชา typography ซึ่งจะได้กล่าวถึง รายละเอียดในบทต่อไป เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า หนังสือหรือเอกสารที่ใช้สำหรับ การเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมนั้น เป็นสื่อพิมพ์ที่ควรมี คุณสมบัติและรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากหนังสือประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระเรื่องราวที่พิมพ์ในเอกสารเหล่านั้น จะต้องมีความถูกต้องทั้งในเชิงวิชาการและภาษาศาสตร์ ดังนั้น นอกจากเรื่องการออกแบบรูปเล่มของเอกสารอย่างเป็น ทางการ ยังต้องคำนึงถึงเรื่องเนื้อหาสาระอย่างเคร่งครัดด้วย ถ้าสังเกตดูหนังสือที่จัดวางอยู่บนชั้นในห้องสมุดหรือ ตามร้านขายหนังสือทั่วไป จะพบว่าหนังสือมีหลายขนาด

6. ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์

วิชาเกี่ยวกับ “ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ (typography)” เป็นศาสตร์พื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบผลิตสื่อพิมพ์ ทุกรูปแบบ ทั้งยังเป็นหัวใจสำคัญที่ใช้ใน การถ่ายทอดสาระเรื่องราวต่าง ๆ ไปสู่ผู้อ่าน หรือผู้เรียนโดยตรง ในขณะที่สื่ออื่น ๆ มีบทบาทเป็นเพียงการเสริมหรือขยายความ ให้แก่ข้อความที่เป็นเนื้อหาวิชาเหล่านี้ เท่านั้น

7. การออกแบบกราฟและแผนภูมิ

ในการประชุมสัมมนาต่าง ๆ นั้น คุณเคยพบสื่อที่ผู้บรรยาย นำมาเสนอมีลักษณะดังต่อไปนี้บ้างไหม 1. ผู้ที่นั่งอยู่ด้านหลังห้องมองไม่เห็นหรืออ่านข้อความ เหล่านั้นไม่ออก 2. มีรายละเอียดที่ต้องอ่านมากมาย ในขณะที่จะต้องตั้งใจ ฟังการบรรยายด้วย 3. ใช้สีหลายสีอย่างไม่มีเหตุผล ดูแล้วลายตา 4. มีสิ่งต่าง ๆ หลายความคิดปะปนกันจนไม่ทราบจุดที่ ต้องการจะเน้น 5. มีการออกแบบที่ใช้ลวดลายมากจนดูรู้สึกยุ่งเหยิง ฯลฯ

8. ข้อความหมายมิติและสื่อหลายมิติ

ในการก้าวเข้าสู่ศตวรรษแห่งยุคสารสนเทศที่มีความ เปลี่ยนแปลงของสาระเรื่องราวต่าง ๆ และพัฒนาการของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วเช่นนี้ ซึ่งย่อมส่งผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าใหม่ของเทคโนโลยี การสอน (instructional technology) ไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า performance technology กล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมการสอนไปสู่วัฒนธรรม การเรียนนั่นเอง ก่อนจะพัฒนาสื่อการสอนรูปแบบ multimedia ขึ้นมานั้น ควรมีการวางแผนและออกแบบอย่างรอบคอบ ซึ่งคงต้อง พิจารณารายละเอียดของเนื้อหาว่าควรจะใช้สื่อรูปแบบใด ในการสื่อสารกับผู้เรียน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ ของเนื้อหาเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงอย่างรัดกุม ในขณะ ที่ผู้พัฒนาสื่อเป็นผู้ควบคุมขอบข่ายความสัมพันธ์ของ เนื้อหานี้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ

9. การทดสอบประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน

การทดสอบประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอน (developmental testing) ไม่ว่าจะเป็นหนังสือแบบเรียน หรือสื่อการสอนที่เป็นสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ ทราบว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือ ไม่ โดยนำไปทดลองใช้ครั้งแรก (try out) เพื่อต้องการจะแก้ไข ปรับปรุงให้เหมาะสมและมีคุณภาพ แล้วจึงนำไปใช้ กับสถานการณ์จริง Dick & Carey (1990) เสนอแนะแนวทางการประเมินผล การออกแบบการสอนว่า ในการทดลองใช้บทเรียนครั้งแรกนี้ ควรมีการทดสอบอย่างน้อย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทดลองกับผู้เรียนแบบ 1 ต่อ 1 (สุ่มผู้เรียนที่การเรียนอยู่ระดับต่ำ ปานกลาง และเก่ง) ขั้นที่ 2 ทดลองแบบกลุ่มเล็ก ขั้นที่ 3 ทดลองจริงกับกลุ่มผู้เรียนทั้งห้องเรียน

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน