การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การเมือง….กระบวนการแสวงหาอำนาจ การใช้อำนาจ และการรักษาอำนาจทางการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน… เศรษฐกิจ….การประกอบอาชีพที่มีองค์รวมของกระบวนการผลิตสินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้า การบริโภค การกระจายการผลิต การกระจายรายได้ การตลาด ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค…
สังคม….กลุ่มคนสองคนขึ้นไปมีมิติแห่งความสัมพันธ์, พฤติกรรม, วัฒนธรรมที่หล่อหลอมสังคมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างชัดเจนทั้งด้านบวกและด้านลบ ส่งผลให้อิทธิพลกลุ่มเหนือบุคคล… ที่ใดมีมนุษย์อยู่ ที่นั่นจะมีศาสตร์ทุกศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ และที่ขาดไม่ได้คือศาสตร์ว่าด้วยการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม….
ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงต้องพัฒนาทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม พร้อมๆกัน และในชีวิตประจำวันของคนก็ไม่อาจหลีกพ้นจากการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ได้เช่นกัน…

หนังสือเล่มนี้ เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการสอนรายวิชา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (Politics, Economy and Society) ซึ่งเป็นวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาผู้เขียนได้ค้นคว้าเรียบเรียงจากตำราหลักต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศของบรรดานักปรัชญา ราชบัณฑิต เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ผู้อ่านและผู้สนใจใฝ่รู้ ได้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานธรรมชาติของการเมืองเศรษฐกิจและสังคมทั่วๆ ไปในภาพรวม ซึ่งจะไม่ลงลึกในรายละเอียดมากนัก เพียงนำเสนอพื้นฐานเบื้องต้นที่มนุษย์ควรรู้ เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเท่าที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมเท่านั้น โดยเน้นให้ผู้สนใจใฝ่รู้ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและการดำรงตนในสังคม อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีสมกับเป็นบัณฑิต เป็นการปูพื้นฐานวิชาชีพเพื่อก้าวสู่วิชาชีวิตที่งดงามต่อไป

สำหรับผู้สนใจใฝ่รู้ประสงค์จะศึกษาในรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง รู้แจ้งเห็นจริงในแต่ละเรื่องนั้น ต้องศึกษาเพิ่มเติมจากรายวิชาเฉพาะเอง ซึ่งจะเจาะลึกถึงแก่นแนวคิดทฤษฎีการปฏิบัติ รวมถึงผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นทั้งบวกและลบทุกแง่มุม เช่น การศึกษาทางรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง สังคมวิทยา มนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ การเงินการคลัง เป็นต้น อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมในบรรณานุกรมแล้ว หวังเป็น อย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไปตามสมควร

1.ความหมายและความสัมพันธ์ของการเมือง การปกครองเศรษฐกิจ และสังคม

มนุษย์เกิดมาในโลกแห่งความเป็นจริงที่มิอาจปลอดจาก การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ได้ นัยเริ่มแต่ลืมตาดูโลกอยู่รอดเป็นสถานะบุคคลตามกฎหมายในสถาบันครอบครัวที่มี การขัดเกลาทางสังคมแตกต่างกันไป ทุกคนในสังคมต้องประกอบอาชีพในวัยอันควร เพื่อดำรงชีวิตให้ สอดคล้องกับวิถีสังคมและความถนัดทางเศรษฐกิจของแต่ละคนภายใต้กรอบนโยบายทางเศรษฐกิจ และสังคมแห่งรัฐ ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาทางการเมืองมาอย่างดีแล้ว โดยตั้งผลลัพธ์อยู่ที่ประโยชน์ สุขของมหาชนนั่นเอง

2.การเมืองการปกครองในสังคมมนุษย์

การเมืองการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัวโดยที่มนุษย์รวมตัวเป็นกลุ่มสังคม มีผู้คนหลากหลาย จำเป็นต้องมีกฎ กติกา
เป็นกรอบในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และจำเป็นต้องมีผู้นำทำหน้าที่ปกครอง ควบคุมดูแลให้สังคมดำเนินไปอย่างเรียบร้อย จึงมีการกำหนดระบบการปกครองขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการใช้อำนาจปกครองซึ่งเป็นอำนาจทางการเมืองนั่นเอง

มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง (Political Animal) เป็นสัตว์โลกที่อยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัยของตน เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีกฎ กติกา มีวินัย เพื่อจัดระเบียบชุมชน

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

3.การปกครองของไทย

ไทยเป็นชาติเก่าแก่ชาติหนึ่งในบรรดาชาติผิวเหลืองด้วยกัน ประเทศไทยแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า สยาม (Siam) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียกประเทศสยาม เป็นครั้งแรก ในการให้สัตยาบันหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับอังกฤษเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 ครั้นต่อมารัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ไทย” โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ว่า โดยที่ชื่อของประเทศนี้มีเรียกกันเป็นสองอย่างคือไทย และสยาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า ไทย


4.แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในสังคมมนุษย์

เศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์แต่ละคนได้ให้คำจำกัดความของคำว่า“เศรษฐศาสตร์” กันมากพอสรุปได้ 2 แนวคิด คือ

  1. สวัสดิการทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น คุณภาพชีวิตของสังคม ชั่วโมงพักผ่อนของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
  2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5.ระบบเศรษฐกิจในสังคมโลก

ระบบเศรษฐกิจมีหน้าที่เสมือนผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดในสังคมหรือประเทศนั้น ๆ เนื่องจากทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนมีอยู่มากมายไม่จำกัด จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทุกอย่างของประชากรได้ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่แก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3 ประการด้วยกัน

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

6.การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยแต่อดีตถึงปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบอาชีพของประชาชน ด้านการค้า การลงทุนตั้งแต่การผลิตสินค้าเพื่อการแลกเปลี่ยนผลิตเพื่อการบริโภค จนถึงการผลิตเพื่อจำหน่ายและการค้าขายระหว่างประเทศ รวมถึงภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมีแบบแผน ซึ่งพัฒนาโดยลำดับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยฉบับแรก (พ.ศ. 2504-2509) จนถึงปัจจุบัน

7.ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม

ตามธรรมชาตินั้นมนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้จึงต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อพึ่งพาอาศัยกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อกันและกัน ทำให้เกิดสังคมมนุษย์ขึ้นมา การที่สังคมจะดำรงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการกำหนดวิธีปฏิบัติตนและแนวทางดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคม

8.การจัดระเบียบสังคมและการขัดเกลาทางสังคม

เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม เพื่อให้สังคมดำรงอยู่และเจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องมีหลักค้ำจุนหรือเสาเข็ม
ที่แน่นหนา เป็นมาตรฐานยืนยันว่าสังคมนั้นมีความมั่นคง ดังนั้น การดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์จึงต้องมีโครงสร้างของสังคมเป็นกรอบในการจัดระเบียบสังคม

9.สถาบันทางสังคมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม

สังคม คือ การที่มนุษย์รวมตัวอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ซึ่งในกลุ่มหนึ่งนั้นมีอะไร ส่วนใหญ่เหมือนกันหรือคล้ายกัน

เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้วจำเป็นต้องมีแบบแผนพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาและสนองความต้องการของมนุษย์ จึงกำหนดให้มีสถาบันทางสังคมขึ้น ซึ่งเป็นสถาบันที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

10.การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่สามารถหยุดยั้งได้ สังคมทุกสังคม
ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน อย่างไร มีขอบเขตการเปลี่ยนแปลงขนาดไหน เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวหรือถาวร

11.ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นลักษณะของการช่วงชิงการใช้อำนาจในทางการเมือง
การใช้ทรัพยากรในการประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกันในหลายทาง

12.เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจและสังคมไทยมีความเปราะบาง พิจารณาได้จากความเหลื่อมลำ้ในสังคม ความขัดแย้ง
ทางการเมือง และปัญหาในชนบท แนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอพียงจึงมีความสำคัญมากขึ้นในการแก้
ปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ ดังนั้น คนในสังคมจึงควรทำความเข้าใจที่มาที่ไปปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อให้เห็นตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และจะเห็นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นทางออกสำคัญที่ทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากกับดักประชานิยมที่เป็นปัญหาระดับประเทศ

มนุษย์เกิดมาในโลกแห่งความเป็นจริงที่มิอาจปลอดจากการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมได้ นัยเริ่มแต่ลืมตาดูโลกอยู่รอดเป็นสถานะบุคคลตามกฎหมาย ในสถาบันครอบครัวที่มีการขัดเกลาทางสังคมแตกต่างกันไป ทุกคนในสังคมต้องประกอบอาชีพในวัยอันควร เพื่อดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีสังคมและความถนัดทางเศรษฐกิจของแต่ละคน ภายใต้กรอบนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งรัฐ ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณา ทางการเมืองมาอย่างดีแล้ว โดยตั้งผลลัพธ์อยู่ที่ประโยชน์สุขของมหาชนนั่นเอง การศึกษาหลักวิชา จำเป็นต้องเข้าใจในความหมายของคำต่างๆ เสียก่อน จึงขออธิบายความหมายของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมสั้นๆ โดยสังเขป เพื่อความเข้าใจตรงกันและง่ายในการศึกษา

การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน