การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

การจำแนกพฤติกรรมการเรียน/การสอน ในอดีต แม้ครูทราบว่าคุณภาพและปริมาณของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอนก็ตาม แต่ครูไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ทฤษฎีการสอนต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินการเรียนการสอนเลย เขาไม่สามารถสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ว่า การสอนของเขาทำ ให้เกิดบรรยากาศอย่างไรขึ้น และมีผลต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง

การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน เป็นการวิเคราะห์การปฏิสัมพันธ์ (Interaction Analysis) ระหว่างครูกับนักเรียนที่ดำเนินต่อเนื่องกันในห้องเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์นี้ สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมทุกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ มันเป็นเพียงวิธีการที่ใช้สังเกตการณ์ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่เป็นคำพูดเท่านั้น

Withall (1949 , p. 347 – 361) เป็นคนแรกที่ได้ทำการศึกษาวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน วิธีการวิเคราะห์ของ Withall เรียกว่า Social-emotional Climate in Classroom ในระบบนี้ เขาได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมที่เป็นคำพูดของครูออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน (อ่านรายละเอียดในภาคผนวก) ระบบของ Withall ได้รับความนิยมกันมาก ในยุคนั้นแต่ต่อมาทฤษฎีการสอนมีแนวโน้มที่จะมุ่งสู่นักเรียนมากขึ้น จึงทำให้ระบบของ Withall มีขีดจำกัดเพราะระบบของเขาไม่มีการพิจารณาถึงพฤติกรรมของนักเรียนเลย

การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

ในระหว่างปี ค.ศ. 1955 – 60 Flanders et al. (1963 , p.251 – 260) และคณะได้ร่วมกันจัดทำระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอนขึ้นใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมของครู และของนักเรียน เรียกว่า Flanders Interaction Analysis Category (ใช้ตัวย่อว่า FIAC) พฤติกรรมที่เป็นคำพูดซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชั้นเรียน

Flanders et al. (1963 , p.251 – 260) มีหลักการว่า อิทธิพลของครูที่ใช้ในการสอนนั้น สามารถนำมาวิเคราะห์ได้โดยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมที่เป็นคำพูดทั้งของครูและนักเรียน เขาให้เหตุผลว่า พฤติกรรมที่เป็นคำพูดนี้เป็นการแสดงออกที่น่าเชื่อถือมากกว่าพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การแสดงท่าทาง หรือการแสดงออกทางหน้าตา ทั้งนี้เขามีความเชื่อในสมมติฐานที่ว่า “พฤติกรรมที่เป็นคำพูดของคนเราจะเป็นตัวแทนที่มากเพียงพอสำหรับพฤติกรรมทั้งหมดของคนนั้น”

ในบทที่ 1 – 6 จะได้กล่าวถึงระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือระบบ Flanders Interaction Analysis Category (FIAC) ทั้งหกบทนี้จะได้อธิบายวิธีการใช้อย่างละเอียด เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับวิธีการในระบบอื่น ๆ ด้วย จึงได้มีตัวอย่างและแบบฝึกหัดให้ท่านทดลองทำประกอบด้วย

ส่วนในบทที่ 7 ถึง 10 ก็ได้กล่าวถึงระบบอื่น ๆ อีก 4 ระบบ ซึ่งเป็นระบบที่ได้มาจากการปรับปรุงระบบ FIAC ให้เหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น ในภาคผนวกก็ได้สรุปของ Dr. Withall เกี่ยวกับ Social-Emotional Climate Index เพื่อให้ท่านทราบความต้นแบบของวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมดด้วยกัน 10 บท ที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน และระบบการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น บทที่ 1 การจำแนกพฤติกรรมการเรียน/การสอน บทที่ 2 วิธีการบันทึกพฤติกรรมและกฎพื้นฐาน บทที่ 3 ตารางมิติ (Matrix) บทที่ 4 การแปลความหมายตารางมิติ บทที่ 5 การลำดับเหตุการณ์ในห้องเรียน บทที่ 6 การปรับปรุงระบบ FIAC บทที่ 7 ระบบ VICS บทที่ 8 ระบบ OSIA บทที่ 9 ระบบ BIAS บทที่ 10 ตารางสาระสำคัญทางสังคม The Social-Substantive

การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน

เอกสารอ้างอิง

Flanders, N.A. (1963). Teacher Influence in the Classroom: Research on Classroom Climate.In A.A. Bellack
(Ed.), Theory and Research in Teaching. p. 37-53. New York: Teacher College, Columbia University.

Flanders, N.A. (1963). Using Interaction Analysis in the In-service Trainning of Teacher. Journal of
Experimental Education
, 30(4). 313-316.

Withall, J. (1949). The development of a technique for the measurement ofsocial-emotional climate in
classrooms. Journal of Experimental Education,17, 347–361. https://doi.org/10.1080/00220973.1949.11010391

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน